ถ้าอ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับปัจจุบัน “
ต้ม” คือ “กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุกเช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว” ส่วน “
แกง” คือ “กับข้าวประเภทที่เป็นน้ำ มีชื่อต่างๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม”
แต่พออ่านคำแปลเช่นนี้แล้ว ก็อาจจะเกิดข้อถกเถียงว่าถ้าความหมายของคำว่า “ต้ม” คือการต้มน้ำให้เดือดเฉย ๆ โดยที่ไม่มีเครื่องปรุง แล้วทำไมบางคนถึงเรียกเมนูบางชนิดไม่เหมือนกันอย่าง
“แกงจืด” กับ“ต้มจืด” เพราะโดยหลักการทำอาหารแล้วเมนูนี้ก็มีการปรุงรส ซึ่งจะไม่ตรงกับความหมายของคำว่า “ต้ม” ที่สื่อถึงกริยาการต้มของเหลวให้เดือดเพียงเท่านั้น แต่คนบ่างกลุ่มก็ยังเรียกเมนูนี้ว่า “ต้มจืด”
แต่ถ้าอ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับหมอบรัดเลย์ "อักขราภิธานศรับท์" คำว่า “แกง” หมายถึง กับข้าวที่คนเอาพริก กะปิ หัวหอม กระเทียม ตำลงด้วยกันให้ละเอียด, แล้วละลายน้ำ เอาผักหรือปลาใส่ด้วยกัน ตั้งไฟให้สุก ส่วนคำว่า “ต้ม” คือ การที่เอาน้ำหรือสิ่งของใด ๆ ใส่ะกะทะลงแล้ว ตั้งไฟให้เดือด”
จากที่กล่าวไป เราสามารถสรุปได้ว่า “แกงจืด” จะไม่สามารถเรียกเป็นแกงได้ เพราะตัวเมนูนั้นไม่ได้มีกรรมวิธีของการตำเครื่องแกงหรือใช้วัตถุดิบอย่างพริก กะปิ หัวหอม กระเทียม มาประกอบอาหาร เพราะฉะนั้น การเรียกชื่อที่ตรงตามพจนากรุมมากที่สุดก็คือ “ต้มจืด” เพราะเป็นการต้มน้ำพร้อมกับสิ่งของอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่เรียก “แกงเขียวหวาน” ที่มีการใช้เครื่องแกงว่า “ต้มเขียวหวาน” เช่นกัน