วาดรูป 101 สิ่งที่นักวาดรูปมือใหม่ทุกคนต้องรู้

Apr 17 / IkonClass Staff
การวาดรูปเป็นสิ่งที่คนเราทำอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าคุณจะวาดรูปเพื่อฆ่าเวลาในประชุม วาดรูปสัญลักษณ์ในสมุดโน้ต หรือถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะได้สอนน้อง ๆ วาดรูปอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าคุณต้องการที่จะเริ่มวาดรูปอย่างจริงจัง วันนี้ทาง IkonClass ได้สรุปพื้นฐานของการวาดรูป พร้อมกับแบบฝึกหัดให้เพื่อน ๆ ได้ลองไปหัดวาดกัน
Pomme Chan
เรียนเทคนิคการวาดภาพประกอบและธุรกิจศิลปะกับปอม ชาน

สไตล์ของภาพวาด

ประเภทของภาพวาดนั้นมีเยอะจนนับไม่ถ้วน ซึ่งทุกคนก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความชอบของตัวเอง :
  • การวาดรูปดูเดิล (Doodle): เป็นการวาดที่ไม่ได้เน้นความสมจริง แต่เป็นการวาดตามอำเภอใจที่เรียบง่าย และเชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยวาดภาพสไตล์ดูเดิลในช่วงวัยเด็ก
  • การวาดรูปสมจริง (Realistic): เป็นสไตล์การวาดที่เน้นความสมจริง ราวกับว่าภาพวาดนั้นเป็นรูปถ่ายที่ออกมาจากกล้องถ่ายรูป ซับเจคสามารถเป็นได้ทั้งรูปคน รูปสัตว์ รูปธรรมชาติ รวมไปถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต
  • การวาดรูปสถาปัตยกรรม (Achitectural): เป็นการวาดรูปที่มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยที่นักวาดจะเน้นรายละเอียดและรูปร่างของสถาปัตยกรรมในยุคนั้น ๆ และถ่ายทอดมันออกมาบนรูปวาด
  • การวาดรูปการ์ตูน (Cartoon): เป็นภาพวาดที่ต้องการสื่ออารมณ์ขันเช่นภาพการ์ตูนล้อเลียนในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบันก็จะมีแขนงการวาดรูปการ์ตูนในหนังสือ Comics ที่เต็มไปด้วยเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ และหนังสือการ์ตูน Manga ของประเทศญี่ปุ่น
แต่หลายคนอาจจะมองการวาดรูปเป็นแค่งานอดิเรกที่ไม่สามารถสร้างเงินได้ แต่ที่จริงแล้วการวาดรูปเป็นทักษะที่สามารถนำไปสร้างรายได้ได้จริง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

อุปกรณ์วาดรูป

จิตรกรไม่จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ราคาแพงเสมอไป เพียงแค่มีใจที่อยากจะวาดรูป ดินสอธรรมดากับกระดาษ A4 ก็พร้อมที่จะนำพาคุณเข้าไปสู่โลกจินตนาการ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์ศิลปะจะไม่มีประโยชน์ เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นล้วนถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน จะมีอะไรบ้าง เดียวเราไปดูกัน

ดินสอ

เลขของดินสอจะเป็นตัวชี้แนะความเข้มของลายดินสอ โดยมาตรฐานแล้ว ดินสอที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร H จะให้สีที่อ่อนกว่า ไล่ระดับความเข้มขึ้นมาในระดับปานกลางก็จะเป็น F และ HB และดินสอที่ลงด้วยท้ายด้วย B ก็จะให้ความเข้มที่เยอะมากกว่ารุ่นก่อนหน้า โดยที่ดินสอก็จะมีตัวเลขนำหน้าเพื่อบ่งบอกระดับความเข้มในระดับชั้นนั้น ๆ เช่น 5H, 4H, 3H, 2H หรือ 2B, 3B, 4B, 5B เป็นต้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับนักวาดว่าต้องการวาดรูปสไตล์ไหน สำหรับคนที่พึ่งเริ่มวาดรูป สามารถเลือกซื้อชุดดินสอที่ให้เฉดความเข้มมาทุกระดับ

และอีกดินสอที่ขาดไม่ได้ในการวาดรูปนั่นก็คือดินสอสี ซึ่งดินสอก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองเกรด: เกรดสำหรับนักเรียนและเกรดสำหรับมืออาชีพ อีกทั้งยังมีวิธีการผลิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น ดินสอสีน้ำมัน ดินสอสีแว็กซ์ และดินสอสีน้ำ แต่ละชนิดก็จะให้เนื้อผิวและเฉดสีแตกต่างกันไป สำหรับมือใหม่ สามารถเลือกใช้ดินสอสีน้ำมันเนื่องจากมีไส้สีที่หนาและหักยาก อีกทั้งยังสามารถเหลาหัวให้แหลมสำหรับการระบายจุดเล็ก ๆ บนภาพวาดได้

กระดาษวาดรูป

นักวาดจะต้องเลือกกระดาษด้วยการดูที่น้ำหนัก พื้นผิว ขนาด และสีของกระดาษ สำหรับการสเก็ตช์ภาพวาดโครงหยาบ ควรเลือกใช้กระดาษที่มีน้ำหนักประมาณ 200 แกรมที่มีความหนาพอประมาณ เพื่อรองรับแรงขีดของดินสอและรอยยางลบ หรือถ้าเป็นสีน้ำก็ควรเลือกใช้กระดาษผิวเรียบเนียนที่มีความหนาประมาณ 300 แกรมเพื่อลดการดูดซึมของสีน้ำ แต่ในปัจจุบัน ยี่ห้อต่าง ๆ ล้วนมีชื่อรุ่นพร้อมคำอธิบายการใช้งานที่ชัดเจน โดยที่นักวาดแทบไม่ต้องนั่งเลือกผิวและน้ำหนักกระดาษเอง

ฝึกวาดรูปทรง

การวาดรูปทรง
ขั้นตอนแรกในการวาดคือการทำความเข้าใจรูปทรง ทุกสิ่งบนโลกประกอบขึ้นจากรูปทรงไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ นักวาดควรเรียนรู้ที่จะแยกสิ่งที่คุณเห็นออกเป็นรูปทรงพื้นฐาน เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และทำการฝึกวาดรูปทรงนั้น ๆ ให้เกิดความเคยชิน ซึ่งจะช่วยพัฒนาฝีมือและเทคนิคการวาดรูปของคุณให้ดียิ่งขึ้น

ฝึกวาดเส้นตรง

เริ่มจากการจับดินสออย่างเบา ๆ ออกแรงกดปานกลางและไม่เกรงข้อมือจนเกินไป ให้เริ่มวาดเส้นตรงไปในทิศทางไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรงในแนวนอน แนวตั้ง หรือแนวเฉียง เมื่อสามารถวาดเส้นตรงได้ดีพอแล้ว สามารถเพิ่มระดับความยากด้วยการฝึกวาดเส้นตรงคู่ขนานโดยที่มีความยาวเท่ากัน การฝึกวาดเส้นตรงจะช่วยเสริมสร้างทักษะมือให้นิ่งมากยิ่งขึ้น

ฝึกวาดเส้นโค้ง

เริ่มจากการวาดเส้นโค้งหรือเส้นคลื่นในฝั่งซ้ายสุดและฝั่งขวาสุด (เว้นระยะห่างตามความสะดวก) จากนั้นให้ทำการวาดเส้นโค้งสลับซ้ายขวาเข้ามาเรื่อย ๆ จนมาประจบกันที่จุดกึ่งกลาง โดยที่ความโค้งของทั้งสองฝั่งควรจะมีความโค้งที่เท่ากัน แบบฝึกหัดนี้จะช่วยฝึกสายตาและข้อมือของนักวาด

ฝึกวาดรูปทรงเรขาคณิต

สำหรับการฝึกวาดรูปทรงเรขาคณิต ให้ฝึกวาดทรงวงกลม ทรงสามเหลี่ยม และทรงสี่เหลี่ยม โดยที่ทรงต่าง ๆ ต้องมีความแม่นยำและไม่บิดเบี้ยว การฝึกวาดรูปทรงเหล่านี้จะช่วยให้นักวาดสามารถวาดรูปที่ซับซ้อนได้ในภายหลัง เพราะอย่างที่อธิบายว่าสิ่งของและรูปทุกอย่างล้วนประกอบไปด้วยรูปทรงเมื่อถูกแยกออกมา

โทนสี

โทนสี 12 สี
และอีกหนึ่งองค์ประกอบที่นักวาดรูปขาดไม่ได้ก็คือความรู้ด้านโทนสี ซึ่งสีต้นกำเนิดนั้นมีสามสีด้วยกัน (แดง เหลือง น้ำเงิน) และเมื่อผสมเข้าด้วยกันสามารถทำให้เกิดสีที่แตกต่างออกกันไป ยกตัวอย่างเช่นวงล้อ 12 สี ที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนสีที่เป็นไปได้จากการผสมสีต้นกำเนิด โดยที่วงล้อสีก็จะแบ่งออกเป็นสองโทน : สีโทนร้อน สีโทนเย็น 

ภาพสีโทนร้อน

สีโทนร้อนจะประกอบไปด้วยสีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง ให้ความรู้สึกอบอุ่น สนุกสนาน ความตื่นเต้น ความรัก สามารถใช้เพื่อสื่อสารกาลเวลาของรูปภาพธรรมชาติอย่างตอนกลางวัน และด้วยสีที่สดกว่าโทนเย็น ทำให้รูปสีโทนร้อนดึงดูดความสนใจได้มากกว่า

ภาพสีโทนเย็น

สีโทนเย็นจะประกอบไปด้วยสีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน ซึ่งสีโทนเย็นมักจะถูกใช้ในการระบายรูปน้ำ ต้นไม้ ใบหญ้า ท้องฟ้า และใช้เพื่อสื่อถึงเวลากลางคืน สีโทนเย็นสามารถใช้สื่อความรู้สึกเงียบสงบ ความนิ่ง ความโศกเศร้า ภาพวาดสีโทนเย็นจะให้ความรู้ผ่อนคลายแก่ผู้ชมแต่จะขาดความดึงดูดและความโดดเด่นเมื่อเทียบกับภาพสีโทนร้อน

ปอม ชาน
สอนการวาดภาพประกอบ & การทำธุรกิจผ่านศิลปะ

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิค จากนักวาดภาพประกอบแนวหน้าของประเทศไทย
Pomme Chan

บทสรุป

แน่นอนว่าไม่มีใครวาดรูปสวยได้ในชั่วพริบตา นักวาดรูปก็ไม่ต่างอะไรจากนักกีฬาที่ต้องหมั่นฝึกฝนและขัดเกลาฝีมืออย่างสม่ำเสมอ สำหรับใครที่ต้องการยกระดับทักษะการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ คุณสามารถสมัครเรียนกับนักวาดภาพประกอบระดับอินเตอร์อย่าง Pomme Chan ได้แล้ววันนี้ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา