6 สิ่งที่ควรมีในแผนธุรกิจร้านอาหาร ทำแล้วไม่เจ๊งแน่นอน

Jan 27 / IkonClass Staff
การลงมือทำธุรกิจแบบไม่มีแผน ก็เหมือนการขับรถไปบนเส้นทางที่คุณไม่รู้จัก ด้วยน้ำมันที่เหลือไม่ถึงลิตร ในการเปิดร้านอาหาร สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจ และแพชชันในการทำอาหารก็คือ แผนธุรกิจร้านอาหารที่ดี หากไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ไม่ว่าไอเดียของคุณจะแปลกใหม่หรืออาหารของคุณจะอร่อยแค่ไหน ร้านของคุณก็ยากที่จะไปได้ไกลอย่างที่ตั้งใจ 

วันนี้ IkonClass ได้สรุปองค์ประกอบ 6 อย่าง ที่ทุก ๆ แผนธุรกิจร้านอาหารควรมี เพื่อเป็นตัวช่วยในการเริ่มเขียนแผนธุรกิจสำหรับร้านอาหารของคุณกัน
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass
เรียนทำอาหารไทยกับ
เชฟมิชลิน

แผนธุรกิจร้านอาหารสำคัญอย่างไร?

แผนธุรกิจร้านอาหารทำหน้าที่เป็นแนวทางของในทำให้ร้านประสบความสำเร็จ และเป็นแผนเพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยง หรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดร้าน โดยแผนธุรกิจร้านอาหารไทย หรือร้านใด ๆ ควรประกอบได้ด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้
  1. บทสรุปการบริหาร
  2. ข้อมูลของร้านอาหาร
  3. ภาพรวมของตลาด: คู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย และ จุดเด่นของร้าน
  4. แผนกลยุทธ์ทางการตลาด
  5. พนักงาน และ แผนการบริหาร
  6. บทวิเคราะห์ทางการเงิน

ซึ่งแต่ละองค์ประกอบก็จะมีข้อมูลและจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วก็เพื่อทำให้คุณสามารถบริหารและจัดการร้านอาหารได้อย่างง่ายดาย และมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถอยู่รอดได้ โดยองค์ประกอบแต่ละข้อ จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. บทสรุปเชิงบริหาร

แผนธุรกิจร้านอาหาร หรือธุรกิจไหน ๆ ถ้าจะให้ดี ควรจะเริ่มจาก Executive Summary หรือบทสรุปการบริหาร โดยจะต้องมีความกระชับและครบถ้วน ข้อมูลที่ควรนำมาเขียนในส่วนนี้ประกอบไปด้วย 5 หัวข้อหลัก ดังนี้
  • แนะนำธุรกิจ
  • พันธกิจของร้าน
  • วิธีการดำเนินงานคร่าวๆ
  • แผนการเติบโต และระยะเวลาคืนทุนที่คาดการณ์ไว้

บทสรุปเชิงบริหารของธุรกิจร้านอาหารนั้น จะเป็นส่วนที่ใช้ในการแนะนำให้เหล่าผู้ลงทุนได้รู้จักกับธุรกิจ และวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ เพราะอย่าลืมว่าการลงทุนในธุรกิจนั่นก็คือการลงทุนในตัวเจ้าของธุรกิจด้วย Executive Summary ควรทำให้ผู้อ่านรู้คร่าว ๆ ว่า ร้านที่กำลังจะเปิดขายอาหารประเภทไหน ในร้านมีบริการอะไรบ้าง เป้าหมายและทิศทางในการเติบโต และปัจจุบันธุรกิจตัวนี้อยู่ในขั้นตอนใดแล้ว

2. ข้อมูลของร้านอาหาร

ส่วนที่สองของแผนธุรกิจร้านอาหารนี้ ถือว่าเป็นส่วนที่เราจะลงลึกไปในองค์ประกอบต่าง ๆ ของร้าน เริ่มต้นจากคอนเซ็ปต์ของร้านและแรงบันดาลของการเปิดร้าน เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนเห็นว่าทำไมคุณถึงมั่นใจว่าร้านจะประสบความสำเร็จ การกำหนดคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนตั้งแต่แรก จะทำให้คุณสามารถวางแผนจัดสรรงบประมาณ เวลา และบุคลากรได้ง่ายขึ้น

หลังอธิบายคอนเซปต์เรียบร้อยแล้ว ในแผนธุรกิจร้านอาหารส่วนนี้ คุณควรนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้ด้วย

  • เมนูและสไตล์ของร้าน เช่น ไฟน์ไดน์นิ่ง ฟาสต์ฟู้ดหรืออื่น ๆ
  • ทำเลที่ตั้ง แผนที่และเวลาทำการ
  • ขนาดของร้านอาหาร (ทั้งพื้นที่และจำนวนที่นั่ง) รวมถึงแผนผังการจัดพื้นที่ของร้าน
  • บรรยากาศและการตกแต่ง
  • บริการอื่น ๆ เช่น บริการส่งถึงบ้านหรือบริการจัดเลี้ยง

3. ภาพรวมของตลาด: คู่แข่ง กลุ่มเป้าหมายและจุดเด่นของร้าน

ข้อมูลของภาพรวมของการตลาดที่ขาดไม่ได้คือ ข้อมูลของคู่แข่งทางธุรกิจของคุณ เพราะก่อนที่จะลงทุนใด ๆ คุณจำเป็นต้องศึกษาต้องตลาดก่อน ในกรณีของการทำธุรกิจร้านอาหาร ข้อมูลที่คุณควรทำการสำรวจจะได้แก่

  • จำนวนร้านอาหารในพื้นที่ใกล้เคียง
  • ประเภทของอาหาร เหตุผลที่ร้านเหล่านี้มีฐานลูกค้า
  • เวลาทำการ
  • บริการอื่น ๆ ของร้านที่อยู่ในตลาดเดียวกัน
ส่วนต่อไปคือการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดว่าร้านอาหารของคุณเจาะกลุ่มลูกค้าวัยไหน สถานะเป็นอย่างไร มีพฤติกรรมเป็นอย่างไร และมีความชอบอย่างไร เพราะอาหารและบริการในราคาที่คุณอยากขายควรจะต้องสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ

อย่างเช่น หากคุณคิดจะเปิดร้านเบอร์เกอร์ในทำเลใกล้โรงเรียนมัธยม แน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือ นักเรียน ดังนั้น การตั้งราคาขาย จะต้องเป็นราคาที่นักเรียนมีกำลังที่จะจ่าย อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นช่วงเย็น เพราะช่วงเวลาหลังเลิกเรียนเป็นเวลาที่ลูกค้าเยอะที่สุด เป็นต้น

หลังจากได้สำรวจคู่แข่งและลุ่มลูกค้าไปแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือการกำหนด Unique Selling Point (USP) หรือจุดเด่นของอาหารและบริการที่จะแตกต่างจากร้านอื่น และเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกร้านของคุณ

4. แผนกลยุทธ์ทางการตลาด

ส่วนต่อมานี้จะเป็นส่วนที่ผู้ประกอบการจะได้แสดงทักษะและความรู้ทางด้านการตลาดให้ผู้ลงทุนได้เห็น หลังจากที่ทำการศึกษาตลาดแล้วกำหนดกลุ่มลูกค้าแล้ว อย่าลืมว่าอาหารหรือบริการจะดีแค่ไหน ก็ขายไม่ได้ดีหากไม่มีคนรู้จัก ดังนั้นแผนธุรกิจร้านอาหารที่ดีจะต้องมีแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะสอดคล้องกับภาพรวมทางการตลาดด้วย

ไม่ว่าจะเป็น เน้นการทำการตลาดแบบออฟไลน์ ใช้ป้ายบิลบอร์ด ใบปลิว หรือควรจะต้องทำสื่อออนไลน์เป็นหลัก แล้วทำสื่อออฟไลน์ควบคู่ไปด้วย และอาจจะต้องมองไปถึงเคมเปญทางการตลาดที่คุณสามารถทำได้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาล วันหยุด หรือตามฤดูกาล

ซึ่งในส่วนนี้นั้นจะรวมไปถึงการกำหนดงบประมาณสำหรับการทำประชาสัมพันธ์ เป้าหมายที่ต้องการ การสร้างแบรนด์ การทำให้ร้านอาหารเป็นที่รู้จัก ตลอดจนไปถึงการเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหารของคุณเอง

5. พนักงานและแผนการบริหาร

ร้านอาหารทุกร้านย่อมต้องมีพนักงานและระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ จุดประสงค์ของหลักของส่วนนี้คือเพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการเองเห็นภาพชัดเจนว่าใครมีหน้ารับผิดชอบอะไร ต้องใช้พนักงานกี่คน แต่ละคนต้องเข้ากะเวลาไหนบ้าง

อีกทั้งการทำแผนธุรกิจอาหารในส่วนนี้จะยังสามารถทำให้คุณสามารถมองเห็นค่าใช้จ่ายได้อย่างละเอียดอีกด้วย ว่าในแต่ละเดือน จะต้องมีค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเท่าใด ค่าเช่าพื้นที่ และอื่น ๆ ทำให้สามารถมองถึงความเหมาะสมในการลงทุนได้เป็นอย่างดี

6. บทวิเคราะห์ทางการเงิน

ส่วนสุดท้ายของการทำแผนธุรกิจร้านอาหารนี้ ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะหากคุณต้องการหาผู้ร่วมลงทุนในกิจการของคุณ เพราะส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์การเงิน ที่จะต้องประกอบไปด้วยการคาดการณ์การขายจากจำนวนที่นั่งในร้าน จำนวนลูกค้าต่อวัน รายรับที่คาดหวังจากการขาย เงินทุนหมุนเวียน และค่าใช้จ่ายโดยรวมเมื่อเปิดกิจการ 

โดยผู้ประกอบการควรมีความชัดเจนในเรื่องการตั้งราคาอาหาร การคิดต้นทุน ระยะเวลาคืนทุน ผลกำไรและขาดทุนที่คาดว่าจะเผชิญอย่างน้อยภายใน 1 ปี หลังจากเปิดร้านอาหาร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของบทวิเคราะห์ทางการเงินคือ การคาดการณ์ทุกอย่างควรอยู่บนข้อมูลที่เชื่อถือได้และความเป็นจริง

เชฟต้น
สอนการทำอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น

เรียนรู้เทคนิคการทำอาหารไทย จากเชฟระดับมิชลิน
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass

สรุปสาระสำคัญ

การเขียนแผนธุรกิจร้านอาหารหรือธุรกิจใด ๆ เป็นเรื่องละเอียดและเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญในระดับสูง ไม่ว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือนักธุรกิจมือฉมัง หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้องเขียนแผนธุรกิจร้านอาหารได้อย่างไร คุณก็สามารถขอความช่วยเหลือจากนักบัญชีหรือนักการตลาดได้ ทาง IkonClass หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและรู้วิธีการเขียนแผนธุรกิจมากขึ้น

ท่านใดอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดร้านอาหาร และการสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ มาเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้ที่ คลาสเชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ IkonClass เลย

บทความล่าสุด

บทเรียนของเรา