สารบัญ
ศึกษาหัวข้อและคนฟัง
โจทย์ข้อแรกของการพรีเซนต์ก็คือการเลือกหัวข้อและสาระที่ต้องการจะถ่ายทอด คุณควรถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า “เราต้องการจะสื่ออะไร” และทำการศึกษาหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน ไม่ว่าคุณจะพยายามโน้มน้าวคนฟังหรือเพียงแค่แจ้งรายงาน คุณควรทำความรู้จักกับเนื้อหาอย่างลึกซึ้งถึงขั้นที่ว่าถ้าไม่มีกระดาษโน้ตก็สามารถบรรยายและตอบคนฟังได้อย่างมั่นใจ
อีกปัจจัยหลักของการพรีเซนต์ก็คือ “ผู้ฟัง” คุณต้องรู้ว่าผู้ฟังมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณกำลังจะพูดมากน้อยแค่ไหน ผู้ฟังเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อะไรคือสิ่งที่ผู้ฟัง “ต้องการ” ที่จะได้ยิน และจัดเนื้อหาสไลด์ของคุณให้เข้ากับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
อีกปัจจัยหลักของการพรีเซนต์ก็คือ “ผู้ฟัง” คุณต้องรู้ว่าผู้ฟังมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่คุณกำลังจะพูดมากน้อยแค่ไหน ผู้ฟังเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อะไรคือสิ่งที่ผู้ฟัง “ต้องการ” ที่จะได้ยิน และจัดเนื้อหาสไลด์ของคุณให้เข้ากับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
การจัดสไลด์แบบมาตรฐาน
เชื่อว่าการพรีเซนต์ในยุคสมัยปัจจุบันคงไม่พ้นเครื่องมืออย่าง Microsoft PowerPoint หรือ Google Slides แต่รู้หรือไม่ว่าการจัดวางสไลด์นั้นมีแบบการจัดวางมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ตั้งแต่ห้องเรียนยันห้องประชุม
สไลด์ที่ 1 : หน้าปก
สไลด์ที่ 2 : สรุปใจความสำคัญ
สไลด์ที่ 3-5 : เนื้อหา & หลักฐาน
สไลด์ที่ 6 : ข้อสรุป
เคล็ดลับการจัดสไลด์
นอกจากการจัดเรียงสไลด์ขั้นต้นแล้ว คุณสามารถทำให้สไลด์ของคุณดูดีมากยิ่งขึ้นด้วยขั้นตอนดังนี้
เคล็ดลับการพูด
เมื่อถึงเวลาที่ต้องพรีเซนต์หรือพูดในที่สาธารณะ หลายคนจะเกิดความกังวลหรือถึงกับขั้นกลัว ซึ่งเคล็ดลับสำหรับการเอาชนะความกลัวก็คือการฝึกซ้อมบทพูด ให้มองว่าการพรีเซนต์ก็ไม่ต่างอะไรไปจากทักษะการร้องเพลงหรือการเล่นกีฬาที่ยิ่งเราฝึกทำมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติมากเท่านั้น
สำหรับการฝึกพูด สามารถเริ่มจากการเขียนบทออกมาคร่าว ๆ ว่าคุณต้องการจะใช้คำไหน พูดด้วยโทนเสียงอะไร และที่สำคัญที่สุดฝึกพูดและออกเสียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะกับคำศัพท์ต่างภาษาหรือคำที่ตัวเองมีปัญหาในการพูด จากนั้นให้ฝึกพูดตามบทจนเกิดความเคยชินถึงขั้นที่ไม่ต้องพึ่งการอ่านบท การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณดูมีความพร้อมและดูเชี่ยวชาญในการบรรยาย ซึ่งจะต่างจากคนที่ไม่ฝึกซ้อมบทและ “ด้นสด” จะสังเกตว่าคนกลุ่มนี้จะพูดไม่ปะติดปะต่อ ไร้ทิศทาง และไม่ได้ใจความ
สำหรับการฝึกพูด สามารถเริ่มจากการเขียนบทออกมาคร่าว ๆ ว่าคุณต้องการจะใช้คำไหน พูดด้วยโทนเสียงอะไร และที่สำคัญที่สุดฝึกพูดและออกเสียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะกับคำศัพท์ต่างภาษาหรือคำที่ตัวเองมีปัญหาในการพูด จากนั้นให้ฝึกพูดตามบทจนเกิดความเคยชินถึงขั้นที่ไม่ต้องพึ่งการอ่านบท การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณดูมีความพร้อมและดูเชี่ยวชาญในการบรรยาย ซึ่งจะต่างจากคนที่ไม่ฝึกซ้อมบทและ “ด้นสด” จะสังเกตว่าคนกลุ่มนี้จะพูดไม่ปะติดปะต่อ ไร้ทิศทาง และไม่ได้ใจความ
บทส่งท้าย
บทความล่าสุด
ผู้สอนของ ikonclass
เรียนรู้จากไอคอนแนวหน้าของประเทศไทย
ผู้สอนของเราเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการนับไม่ถ้วน ในบทเรียนของ IkonClass คุณจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้สอนที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน