5 เทคนิคการทำไฟล์ส่งโรงพิมพ์อย่างมืออาชีพ

Sep 2 / IkonClass Staff
การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เป็นงานที่ละเอียดมาก ๆ เพราะเมื่อการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ของคุณมีความผิดพลาด เทคนิคไม่ตรงกับโรงพิมพ์ อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา อย่างเช่น สีของภาพเพี้ยนไม่ ภาพไม่มีความคมชัด ตัวอักษรไม่อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่ ถ้าหากว่าคุณต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ เราได้รวมวิธีการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์มาให้คุณแล้วที่นี่

ในวันนี้ IkonClass ขอเสนอแนะวิธีที่จะทำให้คุณมีความพร้อมมากกว่าคนอื่นในการเตรียมไฟล์ให้สมบูรณ์แบบและเป็นมิตรกับการพิมพ์งานของคุณมากที่สุด ไปอ่านกันได้เลยว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนเทคนิคการวาดภาพประกอบและธุรกิจศิลปะกับปอม ชาน

1. การพิสูจน์อักษร

เพราะเรื่องการสะกดคำคือเรื่องง่ายที่หลายคนอาจมองข้าม การเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์นั้นคุณควร เช็ก (Check) ดูให้ดีว่าการเขียนคำศัพท์หรือไวยากรณ์ต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากรูปแบบมาตรฐานหรือไม่ หรือเมื่อต้องใช้คำทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ที่เราได้หยิบยืมภาษามาจากต่างชาติ ก็ทำให้เรายิ่งต้องตรวจและพิสูจน์อักษรให้มากขึ้น ตัวอย่างของภาษาไทยที่คนมักจะเขียนผิด เช่น ศรีษะ ต้องเขียนว่า ศีรษะ หรือคำว่า คุ้กกี้ ที่ต้องเขียนว่า คุกกี้ และจากข้อข้างบนที่เราได้เน้นคำว่า เช็ก ส่วนมากคนจะเขียนว่า เชค หรือ เช็ค ซึ่งนั่นคือการเขียนที่ผิด เพราะจะเปลี่ยนความหมายเป็นคำว่าเช็คสำหรับขึ้นเงิน ทำให้อาจจะสื่อสารผิดประเด็นได้เพราะฉะนั้นการพิสูจน์อักษรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมไฟล์ส่งโรงพิมพ์มาก
ตารางสี

2. สีของไฟล์งาน

ก่อนที่งานจะถึงมือของโรงพิมพ์คุณจะต้องตรวจสอบสีของไฟล์งานของคุณให้เรียบร้อยและถูกต้องก่อนส่งโรงพิมพ์ การปรับไฟล์สีทั้งหมดให้เป็น CMYK จะทำให้คุณได้สีที่ตรงกับความต้องการของคุณเป๊ะ ๆ สำหรับงานพิมพ์แบบดิจิทัล เนื่องจากระบบของการพิมพ์จะแปลงไฟล์สีอัตโนมัติให้พร้อมพิมพ์ได้เลย แต่ถ้าหากเป็นการส่งพิมพ์ด้วยเทคนิคการพิมพ์อื่น ก็อาจจะต้องตรวจสอบกับทางโรงพิมพ์อีกครั้งว่าควรส่งไฟล์ประเภทไหน เพื่อเตรียมไฟล์ส่งโรงพิมพ์ใน InDesign หรือ Photoshop ให้ถูกต้อง

CMYK คืออะไร?

C-Cyan (สีฟ้าอมเขียว) M-Magenta (สีแดงอมม่วง) Y-Yellow (สีเหลือง) K-Black (สีดำ) สีทั้ง 4 นี้จะทำหน้าที่เหมือนกับแม่สีที่จะทำให้เกิดสีต่าง ๆ อีกหลายสีเมื่อผสมกัน โปรแกรมออกแบบงานสามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน หรือก่อนที่จะนำไฟล์ออก

3. ความละเอียดของไฟล์งาน

การเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ คุณสามารถส่งงานได้ในหลายสกุลไฟล์ไม่ว่าจะเป็น PDF (จากทุกโปรแกรม), PSD (Photoshop), IDD (InDesign) หรือจะเป็น AI (Adobe Illustrator) ซึ่งสกุลไฟล์เหล่านี้สามารถนำไฟล์ต้นแบบที่เตรียมไว้ส่งโรงพิมพ์ได้เลย เพราะว่าคุณจะได้งานที่คมชัดสมใจ ส่วนสกุลไฟล์อื่น ๆ อย่างเช่น PNG หรือ JPEG อาจต้องปรับค่าความคมชัดให้เป็น 330ppi ขึ้นไปเพื่อให้งานของคุณออกมาคมชัดตามความต้องการของคุณ

4. ฟ้อนต์

ข้อสำคัญของการทำตัวอักษรเพื่อให้ผู้รับสารเห็นได้ชัดเจนคือความคมชัดของตัวหนังสือ หรือหากว่าคุณเลือกตัวอักษรที่โรงพิมพ์ไม่ได้รองรับและเห็นได้ไม่ชัดเจน คุณควรแปลงตัวอักษรให้อยู่ในรูปแบบของงานกราฟิกและวางในงานของเราได้ นอกจากนี้แล้วการเลือกใช้ตัวหนังสือแบบมีหัวและไม่มีหัวในส่วนต่าง ๆ ก็ต้องคำนึงถึงความยากง่ายในการอ่านด้วย
รูปไฟล์ pdf

5. การบันทึกไฟล์พร้อมส่ง

อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าเราสามารถส่งสกุลไฟล์ต่าง ๆ ให้กับโรงพิมพ์ได้เลย ถ้าหากว่าคุณมั่นใจในงานของคุณมากที่สุดแล้วว่าจะไม่มีการแก้ไขใด ๆ หรือไม่มีข้อผิดพลาด พร้อมที่จะพิมพ์ออกมาแล้วนั้น คุณก็สามารถใช้สกุลไฟล์ PDF ในการเตรียมไฟล์ส่งโรงพิมพ์ได้เลย เพราะทางโรงพิมพ์จะไม่สามารถขยับงานคุณได้อีกต่อไป

แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์แบบที่ทางโรงพิมพ์สามารถช่วยแก้ไขได้ในภายหลัง ให้ส่งออกเป็นไฟล์ทำงานแทน

ปอม ชาน
สอนการวาดภาพประกอบ & การทำธุรกิจผ่านศิลปะ

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิค จากนักวาดภาพประกอบแนวหน้าของประเทศไทย
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

สรุปใจความสำคัญ

สิ่งที่ต้องทำให้มั่นใจอยู่เสมอก่อนที่จะเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ก็คือ ควรจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของคำศัพท์และหลักไวยากรณ์ อีกทั้งเรื่องของการใช้สีและฟ้อนต์ ที่ควรอ่านง่าย เหมาะสมและคมชัด นอกจากนี้แล้วขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ก็คือการตั้งค่าส่งออกไฟล์ให้เหมาะกับเทคนิคการพิมพ์เช่น CMYK 

เป็นอย่างไรบ้างเมื่ออ่าน 5 เทคนิคการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ จบแล้ว เราหวังว่าเราจะช่วยให้งานของคุณจะมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจเรียนคอร์สศิลปะออนไลน์ที่ IkonClass ร่วมกับ Pomme Chan นักวาดภาพประกอบ (Illustrator) ชื่อดังของเมืองไทย คุณสามารถเข้ามาทดลองเรียนฟรีกับเราก่อนได้เลย คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดงาน การออกแบบ การใช้สี ตลอดจนไปถึงการเตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์อีกด้วย 

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา