VR, AR, Metaverse คืออะไร ? เข้าใจโลกอนาคตใน 5 นาที

Jun 23 / IkonClass Staff
เป็นที่กล่าวขานกันไปทั่ววงการเทค เมื่อ Apple ได้ประกาศเปิดตัว Vision Pro แว่น AR (Augmented reality) อย่างเป็นทางการในราคา 3,500 USD หรือโดยประมาณ 12X,XXX บาท การปล่อยตัวของแว่น Vision Pro ครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการเทคโนโลยี จากที่เคยเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในอุตสาหกรรม Smartphone ตอนนี้ Apple ได้เริ่มให้ความสนใจกับเทคโนโลยี AR ซึ่งอาจจะสื่อให้เห็นถึงจุดที่ชะลอของการพัฒนา Smartphone เพื่อมุ่งเน้นสู่เทคโนโลยีแห่งอนาคตแทน
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนกับที่สุดของวงการ

Augmented reality (AR) คืออะไร?

AR Furniture บนแอพมือถือ
คำว่า “Augmented” แปลว่าการเสริมขึ้นหรือการเพิ่มขึ้น ส่วนคำว่า “Reality” แปลว่าความเป็นจริง เมื่อนำสองคำมารวมกัน AR เลยแปลว่าโลกความจริงที่มีการต่อเติมหรือปรุงแต่งขึ้นมา ซึ่งก็คือการผสมผสานระหว่างสิ่งที่เรากำลังเห็นเข้ากับกราฟิกที่ไม่ได้มีอยู่ในโลกความเป็นจริง อย่างเช่น ในกรณีของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เกมอย่าง Pokemon GO หรือแอปซื้อของแต่งบ้าน Ikea ก็จะใช้ระบบ AR เพื่อจำลองกราฟิก ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นโลกความเป็นจริงและกราฟิกที่ถูกเพิ่มเติมได้ในเวลาเดียวกัน

การใช้งานจริง : นอกจากแอปพลิเคชันที่ว่าแล้ว ระบบ AR ยังถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์อย่าง Apple Vision Pro ที่สามารถแสดงผลภาพสามมิติ (3D) ด้วยความละเอียดถึง 4K นอกจากนี้ตัว Vision Pro ยังมาพร้อมกับลำโพงและรองรับแอปพลิเคชันมากมาย ไม่ว่าจะใช้สำหรับการทำงาน การดูหนังฟังเพลง หรือการประชุมและการโทรศัพท์แบบเห็นภาพในทางไกล 

Virtual reality (VR) คืออะไร?

คนเล่นเกมส์ผ่านแว่นตา VR
“Virtual” หมายถึง “ความเสมือนจริง” เพราะฉะนั้นคำว่า Virtual reality (VR) มักจะสื่อถึงโลกเสมือนจริงหรือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงนั่นเอง

การใช้งานจริง : เมื่อพูดถึง VR เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงแว่นตาอย่าง Sony VR, HTC Vive, Valve Index หรือ Meta (ชื่อใหม่ของ Facebook) ก็ได้ออกอุปกรณ์แว่นตา VR ภายใต้ชื่อ Meta Quest ซึ่งแว่นตา VR เหล่านี้มักจะถูกใช้สำหรับการบันเทิงเช่นวิดีโอเกมหรือหนัง แต่ VR ไม่จำเป็นจะต้องสื่อถึงการใช้แว่นตาดังกล่าวเสมอไป เพราะ VR ยังถูกใช้ในเชิงพาณิชย์โดยที่ไม่ต้องมีแว่นตาได้ อย่างเช่น Virtual Tour ของโครงการอสังหา ตึกพิพิธภัณฑ์ หรือแม้แต่ฟังชั่น Street View ของ Google map ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ VR เช่นกัน

โลกแห่ง Metaverse

Metaverse
ในปัจจุบัน Metaverse ยังไม่มีคำนิยามที่แน่ชัดเพราะโลก Metaverse ที่ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา

แต่โดยรวมแล้ว Metaverse คือพื้นที่สามมิติ (3D) ในโลกดิจิตอลหรือโลกเสมือนจริงที่ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR, VR และการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้คนสามารถ interact ผ่านทางโลก Metaverse ได้ ในปัจจุบัน Metaverse มักจะถูกพัฒนาสำหรับการบันเทิงเช่นวิดีโอเกม แต่ก็เริ่มมีการพัฒนาไปในเชิงพาณิชย์แล้วเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการซื้อขายทรัพย์สินดิจิตอลอย่าง NFT หรือการซื้อขายอสังหาดิจิตอล หรือก็คือการซื้อบ้านใน Metaverse

Metaverse ประกอบไปด้วย 7 เลเยอร์ ดังนี้
  1. Experience (ประสบการณ์) : จุดมุ่งหมายของโลก Metaverse คือการสร้างประสบการณ์ที่เสมือนโลกความเป็นจริง เป็นการจำลองภาพ แสง สี เสียง รูปร่าง ระยะทาง เพื่อจำลองโลกสามมิติในพื้นที่ของโลกดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม การจำลองคอนเสิร์ต การจำลองโรงหนัง การจำลองห้องประชุมหรือพื้นที่ออฟฟิศ และการพบเจอกับผู้คนใหม่ ๆ
  2. Discovery (การค้นหา) : การค้นหาหรือการค้นพบข้อมูลบนโลก Metaverse จะถูกแบ่งเป็นสองประเภท ซึ่งก็คือ 1) การค้นหาแบบ Inbound ซึ่งผู้ใช้จงใจที่จะค้นหาข้อมูลนั้นด้วยตนเองไม่ว่าจะผ่าน Search Engine หรือคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มอย่าง NFT 2) การค้นพบข้อมูลผ่านการตลาด Outbound หรือแบบท้างอ้อม เช่น การค้นพบข้อมูลผ่านสื่อโฆษณา สื่อ Social Media หรือข่าวสารอีเมลเป็นต้น
  3. Creator Economy (ความหลากหลายของผู้สร้าง) : ในอดีตที่ผู้สร้าง หรือ Creator เป็นคนกลุ่มน้อยที่เขียนโค้ดเป็นและมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี แค่ตอนนี้ใคร ๆ ก็เป็น creator ได้ เพราะในโลกของ Metaverse ที่มีการใช้ VR และ AR การสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ จะเน้นไปที่การใช้แบบพิมพ์ (Template) ที่มีอยู่แล้วนำมาจัดวางให้ดูสวยงาม เป็นการอำนวยความสะดวกผู้ที่อยากจะสร้างพื้นที่ของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Wix ในการสร้างเว็บไซต์
  4. Spatial Computing (การประมวลผลเชิงพื้นที่) : คือการเก็บข้อมูลจากโลกความเป็นจริงเพื่อนำไปใช้ในโลกเสมือน เพื่อพัฒนาให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานผ่าน VR หรือ AR รู้สึกสมจริงมากยิ่งขึ้น ยกตัวเช่น การจำลองห้องลองเสื้อผ้าในโลกดิจิตอลเพื่ออำนวยความสะดวกในการช้อปปิ้ง หรือการสร้างออฟฟิศเสมือนจริงเพื่อให้พนักงานได้ทำงานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
  5. Decentralization (การกระจายอำนาจ) : อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของ Metaverse คือการสร้างระบบที่กระจายอำนาจสู่ผู้ใช้และลดสิทธิการเป็นเจ้าของข้อมูลเพียงผู้เดียว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัท A เป็นเจ้าของระบบของ Metaverse บริษัท A ก็จะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ได้ทั้งระบบ ทำให้เกิดการขายข้อมูลผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว ซึ่งการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว เหตุการณ์แบบนี้จึงเป็นที่มาของการใช้ระบบกระจายอำนาจอย่าง Blockchain
  6. Human Interface (เครื่องมือ) : หมายถึงเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เชื่อมระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือนจริง ยกตัวอย่างเช่น Apple Vision Pro หรือแว่นตา Sony VR และด้วยการผลิตชิปประมวลผล Semiconductors ที่เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นทุกปี ทำให้อุปกรณ์ในยุคปัจจุบันและอนาคตมีขนาดที่เล็กลงและง่ายแก่การพกพามากยิ่งขึ้น
  7. Infrastructure (โครงสร้าง) : ท้ายที่สุดแล้ว เพื่อที่ผู้ใช้งานจะสามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างไม่ขาดสายในโลก Metaverse เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่นเทคโนโลยีเครือข่าย 5G หรือ 6G ที่จะช่วยในเรื่องของความเร็วและความเสถียรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้ใน Metaverse

เรียนกับที่สุดแห่งทุกวงการ

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงของทุกวงการไทย
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

บทส่งท้าย

หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโลก Metaverse และเทคโนโลยี AR VR มากขึ้น และเข้าใจถึงบทบาทของมันในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ แต่นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ คุณสามารถพัฒนาทักษะและความรู้ของคุณได้แล้ววันนี้ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

ผู้สอนของ ikonclass

เรียนรู้จากไอคอนแนวหน้าของประเทศไทย

ผู้สอนของเราเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการนับไม่ถ้วน ในบทเรียนของ IkonClass คุณจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้สอนที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน

บทเรียนของเรา