ในยุคปัจจุบัน เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักกีฬาสากลอย่าง “ฟุตบอล” ที่มีการจัดแข่งตั้งแต่ในระดับโรงเรียนไปจนถึงระดับชาติ ซึ่งกีฬาชนิดนี้ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสำหรับเยาวชนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักเตะประจำทีมชาติ และอีกทั้งยังเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในโลก ในบทความนี้ IkonClass จะมาพูดถึงประวัติความเป็นมาของฟุตบอลในประเทศไทยที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก
สารบัญ
กำเนิดฟุตบอลไทย
ในช่วงปี พ.ศ. 2443 - 2444 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หรือเป็นที่รู้จักในนามปากกาว่า “ครูเทพ” ผู้แปลกติกาฟุตบอลและนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้นดำรงตำแหน่ง
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทย ณ สนามหลวง ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่ออกกำลังกาย การแข่งขันฟุตบอลคู่แรกของประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง “ชุดบางกอก” กับ “ชุดกรมศึกษาธิการ” จบลงด้วยคะแนนเสมอ 2 ประตูต่อ 2
ในปีต่อมา ครูเทพได้ทำการตีพิมพ์ “หนังสือวิทยาจารย์” ในปี พ.ศ. 2444 ซึ่งประกอบไปด้วยกฎกติกาฟุตบอลที่อ้างอิงมาจากกติกาของฟุตบอลสากล ในขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ โดยใช้กฎกติกาสากลในการนับคะแนนภายใต้โครงสร้างการแข่งแบบแพ้คัดออก (Single elimination) ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ถูกดำเนินโดยกรมศึกษาธิการ มี 9 ทีมเข้าร่วมในการแข่งขัน และจำกัดนักแข่งเพียงแค่นักเรียนชายที่อายุไม่เกิน 20 ปี
และในปี พ.ศ. 2451 อดีตนักเตะมืออาชีพชาวอังกฤษ “อี.เอส.สมิธ” ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการฟุตบอลในไทยและตัดสินนัดเตะสำคัญอยู่หลายนัด อีกทั้งยังได้เผยแพร่กติกาการแข่งขันและวิธีการเล่นที่ทันสมัยยิ่งขึ้น
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ แต่ทว่า เสียงตอบรับของกีฬาฟุตบอลในช่วงแรกนั้นไม่ดีดั่งที่หวังไว้ บางกลุ่มก็วิจาร์ณว่าฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะกับการเล่นหรือแข่งขันในเมืองร้อนอย่างสยาม แต่เหมาะกับประเทศที่มีอากาศเย็น อีกทั้งยังมีความตื่นตระหนกเกี่ยวกับความอันตรายสำหรับนักแข่งและผู้ชม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนก็หันมายอมรับกีฬาฟุตบอลมากขึ้น
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทย ณ สนามหลวง ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่ออกกำลังกาย การแข่งขันฟุตบอลคู่แรกของประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง “ชุดบางกอก” กับ “ชุดกรมศึกษาธิการ” จบลงด้วยคะแนนเสมอ 2 ประตูต่อ 2
ในปีต่อมา ครูเทพได้ทำการตีพิมพ์ “หนังสือวิทยาจารย์” ในปี พ.ศ. 2444 ซึ่งประกอบไปด้วยกฎกติกาฟุตบอลที่อ้างอิงมาจากกติกาของฟุตบอลสากล ในขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ โดยใช้กฎกติกาสากลในการนับคะแนนภายใต้โครงสร้างการแข่งแบบแพ้คัดออก (Single elimination) ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ถูกดำเนินโดยกรมศึกษาธิการ มี 9 ทีมเข้าร่วมในการแข่งขัน และจำกัดนักแข่งเพียงแค่นักเรียนชายที่อายุไม่เกิน 20 ปี
และในปี พ.ศ. 2451 อดีตนักเตะมืออาชีพชาวอังกฤษ “อี.เอส.สมิธ” ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการฟุตบอลในไทยและตัดสินนัดเตะสำคัญอยู่หลายนัด อีกทั้งยังได้เผยแพร่กติกาการแข่งขันและวิธีการเล่นที่ทันสมัยยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของฟุตบอลไทย
ในปี พ.ศ. 2453 กรมศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขันฟุตบอลไทย โดยเริ่มต้นจะใช้วิธี “การแข่งแบบแพ้คัดออก” (Single elimination) เปลี่ยนมาเป็นระบบการแข่ง “แบบพบกันหมด” (Round robin) ซึ่งประยุกต์ใช้การนับคะแนนแบบแคนาดา (Canadian system) ก็คือ การชนะจะได้ 2 คะแนน การเสมอจะได้ 1 คะแนน และการแพ้จะได้ 0 คะแนน
ในปี พ.ศ. 2458 กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่นฟุตบอล วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน และประยุกต์ใช้กติกาฟุตบอลสากลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทำให้คนไทยสามัญชนจนไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์และพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้สนใจกีฬาฟุตบอลและทรงจัดการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรก ภายใต้ชื่อ “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง”ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างทหาร ตำรวจ และเสือป่า
ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง “สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม (ส.ฟ.ท)” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Football Association of Thailand Under The Patronage of His Majesty The King” ซึ่งปัจจุบันถูกย่อมาใช้ว่า (FA Thailand)
ในปี พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน “กีฬาโอลิมปิก” ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ผ่ายแพ้ให้กับทีมชาติสหราชอาณาจักรด้วยคะแนน 0 ประตูต่อ 9
และในช่วงปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งสยามได้ทำการจัดแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระบบลีกขึ้น โดยมีการเปลี่ยนชื่ออยู่หลายครั้งคือ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก (Thailand Soccer League), ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (Thailand Premier League), ไทยลีก (Thai League) และไทยพรีเมียร์ลีก (Thai Premier League) แต่เนื่องจากการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระบบลีกนั้นถูกจัดขึ้นแค่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดความยากลำบากในการเข้าถึงสำหรับผู้ชมที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร จึงเป็นเหตุทำให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ร่วมมือแก้ไขปัญหานี้โดยการจัดแข่งขันฟุตบอลอาชีพระบบลีกในส่วนภูมิภาค (Provincial League) ในปี พ.ศ. 2542
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 กกท. ย้ายการแข่งขันไปร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายใต้ชื่อ โปรเฟสชันนัลลีก (Professional League) ซึ่งระดับชั้นสูงสุดมี 18 สโมสรเข้าร่วม และในปี พ.ศ. 2549 สโมสรฟุตบอลชลบุรี และ สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรีจากโปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด ได้เข้าไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 กกท. ได้สั่งปิดโปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด และจัดแบ่งสโมสรในลีกให้ไปเข้าแข่งขันกับไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกและไทยลีกดิวิชัน 1 แทน
นอกจากนี้แล้ว ประเทศไทยก็ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลครั้งสำคัญอยู่หลายครั้งเช่น ฟุตบอลเอเชียเยาวชน เอเชียนคัพ ฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน ฟุตบอลเอเชียหญิง เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์
ในปี พ.ศ. 2458 กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่นฟุตบอล วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน และประยุกต์ใช้กติกาฟุตบอลสากลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทำให้คนไทยสามัญชนจนไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์และพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้สนใจกีฬาฟุตบอลและทรงจัดการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรก ภายใต้ชื่อ “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง”ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างทหาร ตำรวจ และเสือป่า
ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง “สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม (ส.ฟ.ท)” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Football Association of Thailand Under The Patronage of His Majesty The King” ซึ่งปัจจุบันถูกย่อมาใช้ว่า (FA Thailand)
ในปี พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน “กีฬาโอลิมปิก” ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ผ่ายแพ้ให้กับทีมชาติสหราชอาณาจักรด้วยคะแนน 0 ประตูต่อ 9
และในช่วงปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งสยามได้ทำการจัดแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระบบลีกขึ้น โดยมีการเปลี่ยนชื่ออยู่หลายครั้งคือ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก (Thailand Soccer League), ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (Thailand Premier League), ไทยลีก (Thai League) และไทยพรีเมียร์ลีก (Thai Premier League) แต่เนื่องจากการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระบบลีกนั้นถูกจัดขึ้นแค่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดความยากลำบากในการเข้าถึงสำหรับผู้ชมที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร จึงเป็นเหตุทำให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ร่วมมือแก้ไขปัญหานี้โดยการจัดแข่งขันฟุตบอลอาชีพระบบลีกในส่วนภูมิภาค (Provincial League) ในปี พ.ศ. 2542
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 กกท. ย้ายการแข่งขันไปร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายใต้ชื่อ โปรเฟสชันนัลลีก (Professional League) ซึ่งระดับชั้นสูงสุดมี 18 สโมสรเข้าร่วม และในปี พ.ศ. 2549 สโมสรฟุตบอลชลบุรี และ สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรีจากโปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด ได้เข้าไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 กกท. ได้สั่งปิดโปรเฟสชันนัลลีกสูงสุด และจัดแบ่งสโมสรในลีกให้ไปเข้าแข่งขันกับไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกและไทยลีกดิวิชัน 1 แทน
นอกจากนี้แล้ว ประเทศไทยก็ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลครั้งสำคัญอยู่หลายครั้งเช่น ฟุตบอลเอเชียเยาวชน เอเชียนคัพ ฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน ฟุตบอลเอเชียหญิง เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์