Golden Ratio เทคนิคถ่ายรูปสวยแบบช่างภาพมือโปร

Jul 3 / IkonClass Staff
เทคนิคการถ่ายรูป “กฎสามส่วน” เป็นเครื่องมือที่ช่วยช่างภาพจัดองค์ประกอบของภาพให้ดูสมส่วนและสวยงาม แต่อีกหนึ่งกฎที่น้อยคนนักมักพูดถึงก็คือ “Golden ratio” หรือ “สัดส่วนทองคำ” นั่นเอง วันนี้ IkonClass เลยอยากแนะนำวิธีการประยุกต์ใช้ Golden ratio ในการถ่ายรูปที่ทั้งช่างภาพมือใหม่และคนชอบเล่นกล้องควรรู้
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนกับช่างภาพแฟชั่นมือ 1 ของประเทศไทย

Golden Ratio คืออะไร

Golden ratio หรือ สัดส่วนทองคำ เป็นสัดส่วนที่ถูกค้นพบโดยนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก (Euclid) ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานศิลปะ งานออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย สัดส่วนทองคำเหมือนการเอาตัวเลขมาช่วยนิยามความสวยงามในอุดมคติ ในด้านการใช้งาน การจัดองค์ประกอบด้วย Golden ratio จะช่วยให้ผลงานดูมีความดึงดูดและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สำหรับการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Golden ratio นั้นจะมีอยู่สองประเภทหลักซึ่งก็คือ “Phi grid” และ “Fibonacci spiral” สองเทคนิคนี้แตกต่างกันยังไง ? เดียวเราไปดูกัน

Phi (Φ) grid

Phi (Φ) grid จะแตกต่างจากกฎสามส่วน (Rule of third) ตรงที่การแบ่งสัดส่วน โดยที่กฎสามส่วนจะใช้สัดส่วน 1:1:1 แต่ Phi grid จะใช้สัดส่วน 1:0.618:1 ทำให้จุดตัดของเส้นแนวนอนและเส้นแนวตั้งของ Phi grid จะดูเหมือนถูกบีบให้แคบลงเมื่อเทียบกับการจัดสัดส่วนแบบกฎสามส่วน

ตาราง Phi grid และกฎสามส่วน
*รูปภาพนี้เป็นแค่การจำลอง ไม่ใช่การแบ่งสัดส่วน Phi grid ที่แม่นยำ

การใช้ Phi grid ในการถ่ายภาพ Landscape จะช่วยให้ช่างภาพมีพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่างมากยิ่งกว่าการถ่ายภาพ Landscape โดยใช้กฎสามส่วน ทำให้รูปภาพที่ถ่ายออกมาดูมีความสมส่วนระหว่าง foreground (ฉากหน้า), middle ground (ฉากกลาง) และ background (ฉากหลัง) กว่าตอนที่การจัดภาพด้วยกฎสามส่วน
วิวภูเขา Phi grid

Fibonacci spiral

ค้นพบโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี (Leonardo Fibonacci) “Fibonacci spiral” เกิดมาจากลำดับเลขฟีโบนัชชี ซึ่งเป็นการนำจำนวนก่อนหน้า 2 ลำดับมาบวกกัน เพื่อให้ได้ลำดับถัดไป [0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55,.…] ซึ่ง Golden ratio เข้ามาเกี่ยวข้องกับเลขลำดับฟีโบนัชชี่เพราะว่า เมื่อนำตัวเลขใด ๆ ในลำดับมาหารด้วยเลขก่อนหน้า (เช่น 34 หารด้วย 21 หรือ 55 หารด้วย 34) ผลลัพธ์ก็จะออกมาเท่าใกล้เคียงกับ 1 ต่อ 1.618

Fibonacci spiral ปรากฏอยู่ในแทบทุกซอกทุกมุมของธรรมชาติตั้งแต่เปลือกหอย ดอกไม้ ใบหน้าคน จนไปถึงทางช้างเผือก
โถงบันได Fibonacci spiral
นกบิน Fibonacci spiral

หลักการใช้ Golden Ratio ในการถ่ายภาพ 

ภาพถ่ายผู้ชาย Fibonacci spiral
คิดภาพ Fibonacci spiral ไว้ในใจแล้วนำซับเจคหลักหรือจุดโฟกัสหลักของภาพนำไปวางไว้ที่ช่องสี่เหลี่ยมอันเล็กที่สุดของ spiral หรือตรงจุดเริ่มต้นของเส้นโค้ง การจัดองค์ประกอบเช่นนี้จะช่วยให้รูปภาพมีความดึงดูดที่เป็นธรรมชาติ มีความน่าสนใจ และง่ายแก่การรับชม ซึ่งช่างภาพสามารถกลับด้าน Fibonacci spiral ยังไงก็ได้ให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายคนหรือสิ่งของ

ณัฐ ประกอบสันติสุข
สอนการถ่ายภาพแฟชั่น

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิคจากช่างภาพแฟชั่นอันดับ 1
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

บทส่งท้าย

ถึงจุดนี้แล้ว ทุกคนคงมีคำถามว่า “แล้วเราจะเปิดใช้ Phi grid หรือ Fibonacci spiral ในกล้องเราได้ยังไง” คำตอบก็คือ ไม่มี เพราะว่า Phi grid และ Fibonacci spiral เป็นเพียงแค่ทฤษฎีที่คอยช่วยช่างภาพในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายเพียงเท่านั้นเอง และคุณสามารถจะเลือกใช้หรือไม่ใช้หลักการเหล่านี้ก็ได้

การทำความเข้าใจ Golden ratio เป็นเพียงแค่ขั้นตอนแรกในการถ่ายภาพ ยังมีอีกหลายปัจจัยเช่นการเลือกสถานที่ การคิดคอนเซ็ปต์ การจัดวางซับเจค การจัดแสง และปัจจัยสำคัญอีกมากมายที่คุณสามารถเรียนรู้ได้จากช่างภาพระดับประเทศอย่าง ณัฐ ประกอบสันติสุข ได้แล้ววันนี้ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา