เผยเทคนิคร้องเพลงเพราะ พร้อมแบบฝึกหัดวอร์มเสียง

Jan 1 / IkonClass Staff
หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าการร้องเพลงเป็นเรื่องของพรสวรรค์ แต่ที่จริงแล้วใคร ๆ ก็สามารถฝึกและพัฒนาทักษะการร้องเพลงให้ไพเราะได้ ในบทความนี้ IkonClass ขอนำเสนอแบบฝึกหัดการร้องเพลงที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นนักร้องเสียงทอง
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนกับที่สุดของวงการ

วอร์มร่างกาย

มือเบส มือกีตาร์ มือกลอง ยังต้องมีการวอร์มร่างกายก่อนการขึ้นแสดง นักร้องก็ไม่ต่างกัน การวอร์มร่างกายก่อนการร้องเพลงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะจะช่วยให้นักร้องสามารถร้องเพลงได้สะดวกขึ้นและร้องได้นานกว่าเดิม : 
  1. ยืนหลังตรง อกผายไหล่ผึ่ง หายใจเข้าลึก ๆ ผ่านทางรูจมูกจนรู้สึกถึงหน้าท้องป่อง หายใจเข้าจนกว่าจะสุดลมหายใจและกลั้นไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นให้หายใจออกด้วยการ “เกร็ง” หน้าท้องเหมือนกำลังบีบลมออก ให้ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
  2. อ้าปากเพียงเล็กน้อย ขยับลิ้นเข้า-ออก บน-ล่าง ซ้าย-ขวา ทำประมาณ 5-8 วินาทีต่อเซ็ท และทำประมาณ 2-3 เซ็ท
  3. วอร์มกรามด้วยการใช้ฝ่ามือนวดวนอยู่กับที่และขยับปากเปิด-ปิด เพื่อเป็นการคลายความตึงช่วงกรามและกล้ามเนื้อส่วนแก้ม
  4. วอร์มกล้ามเนื้อช่วงคอและไหล่ ทำได้ด้วยการหมุนคอและต่อได้การหมุนไหล่แบบช้า ๆ ทำประมาณ 10 ครั้งต่อส่วน

แบบฝึกหัดร้องเพลง

สำหรับแบบฝึกหัดต่อไปนี้ ทุกคนสามารถนำไปใช้ในการวอร์มเสียงหรือสามารถใช้เพื่อฝีกทักษะการร้องเพลงได้เช่นกัน

Humming

การฮัมเสียงเพลงแบบฝึกหัดวอร์มเสียงที่ง่ายและใช้แรงจากเส้นเสียงน้อยที่สุด ทำได้ด้วยการนำปลายลิ้นไปแตะที่ฟันล่างแถวกลาง และทำการฮัมแบบปิดปาก ไล่ระดับขึ้น-ลง ตาม Major scale

Vocal straw

นำหลอดดื่มน้ำมาคาบไว้ตรงกลางปากโดยที่ไม่ให้มีรูรั่วยกเว้นรูของหลอด จากนั้นให้ทำกาฮัมตาม Major scale จากสูงไปต่ำ หรือ ฮัมตามเพลงที่กำลังฝึกร้องอยู่ แบบฝึกหัดนี้จะช่วยในเรื่องของการควบคุมลมที่ออกผ่านช่องคอและการสั่นของเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ 

Lip buzz

Lip buzz หรือ Lip trill เป็นแบบฝึกหัดการวอร์มเสียงที่ฮิตที่สุดในหมู่นักร้อง เริ่มแรก ให้เป่าลมออกจากปากจนริมฝีปากเกิดการสั่นจากแรงเป่า จากนั้นให้ลองใส่ระดับเสียงสูงหรือต่ำเข้าไปในระหว่างที่กำลังทำ Lip buzz การฝึกนี้จะช่วยวอร์มคอและฝึกการคุมแรงลมได้ดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความคุ้นชินกับการออกเสียงแบบ Open throat อีกด้วย

Solfege

อ่านว่า “โซลเฟจ” หรือการฝึกร้อง “โด เร มี ฟา ซอล ลา ที” ตามเสียงโน้ตเครื่องดนตรี การฝึก Solfege เป็นการเสริมสร้างความคุ้นชินกับเสียงโน้ตต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้นักร้องอ่านโน้ตและร้องเพลงได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น สำหรับนักร้องเริ่มต้น สามารถเริ่มจากการร้องตามเสียงเปียโน หรือในขั้นสูง สามารถลองฝึก Solfege แบบไม่ต้องมีเสียงเปียโนคอยนำ

เสียงรถไซเรน

สำหรับแบบฝึกหัดร้องเพลงนี้ ให้ร้องเสียงตัวอักษร “O” โดยเริ่มจากระดับเสียงต่ำและไล่ระดับไปจนถึงเสียงสูง ร้องไล่ระดับเสียง ต่ำ-สูง และสลับ สูง-ต่ำ คล้ายกับเสียงรถไซเรน ทำประมาณ 5-10 วินาทีต่อเซ็ท ทำประมาณ 2-3 เซ็ท โดยที่เซ็ทของอันต่อไปจะต้องเริ่มด้วยเสียงที่สูงกว่าเซ็ทก่อนหน้า 

ฝึกร้องจากกะบังลม

การใช้เทคนิคหายใจที่เหมาะสมจะช่วยรักษาเสียงของนักร้องได้ในระยะยาว เทคนิคการหายใจที่ถูกต้องในเวลาร้องเพลงก็คือ “การหายใจจากกะบังลม” ซึ่งจะทำให้นักร้องสามารถคุมเสียงร้องได้ดีขึ้น และร้องออกมาได้อย่างทรงพลัง 

เริ่มจากการผ่อนคลายร่างกาย เวลาหายใจเข้า ให้รู้สึกถึงกะบังลมพอง (กะบังลมจะเป็นกล้ามเนื้อระหว่างหน้าอกและหน้าท้อง) โดยที่อกและไหล่ไม่ควรขยับเวลาหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ให้เกร็งกะบังลมและ “บีบ” ลมออกมา โดยที่อกและไหล่ไม่ควรขยับเช่นกัน 

ฝึกร้องเสียงงู

การฝึกร้องเสียงงู หรือเสียงตัว “Sssss” เป็นแบบฝึกหัดในการวอร์มเสียงที่บังคับให้นักร้องใช้การหายใจจากกะบังลมเช่นกัน :
  1. ยืนตัวตรงในลักษณะที่ผ่อนคลาย ไม่ควรเกร็งไหล่ คอ หรือใบหน้า
  2. ใช้เทคนิคกะบังลม หายใจเข้าทางปากพร้อมกับนับ 5 วินาที
  3. ใช้เทคนิคกะบังลม หายใจออกพร้อมกับนับถึง 9 วินาที ในจังหวะที่หายใจออก ให้ทำเสียง “Ssssss” จนกว่าลมทั้งหมดจะออกจากกะบังลม
  4. สำหรับคนที่เริ่มชำนาญ สามารถเพิ่มเป็นการนับ 7 วินาทีตอนหายใจเข้า และ 12 วินาทีตอนหายใจออก

เรียนกับที่สุดแห่งทุกวงการ

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงของทุกวงการไทย
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

บทส่งท้าย

นอกจากแบบฝึกหัดร้องเพลงพวกนี้แล้ว คุณเองยังสามารถเรียนรู้การร้องเพลงชนิดต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น Chest voice, Head voice, Mix voice, Falsetto, Vibrato และอีกมากมาย ยิ่งคุณเข้าใจการทำงานของเสียงและเทคนิคการร้องมากเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถร้องเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น

สำหรับสาระการดนตรีและการบันเทิง อ่านต่อได้ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา