เจาะลึก 7 พื้นฐานองค์ประกอบเบสิคของงานออกแบบ

Apr 21 / IkonClass Staff
การออกแบบเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเรา และเราก็พบมันในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ อาคารที่เราอยู่อาศัย หรือแม้แต่เว็บไซต์ที่เราเยี่ยมชมก็ล้วนกำเนิดมาจากการออกแบบ ในบทความนี้ IkonClass จะเจาะลึก 7 องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบที่นักดีไซน์เนอร์และนักออกแบบทุกคนต้องรู้ !
Pomme Chan
เรียนเทคนิคการวาดภาพประกอบและธุรกิจศิลปะกับปอม ชาน

สี

สีเป็นองค์ประกอบที่ทรงพลังในการออกแบบ เพราะสีเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ กำหนดอารมณ์ และสร้างความรู้สึกให้กับผู้ชม สีสามารถใช้เพื่อเน้นข้อมูลสำคัญ สร้างจุดโฟกัส และสร้างลำดับชั้นภาพ เพราะฉะนั้น เรามักจะเห็นนักดีไซน์เนอร์ใช้วงล้อสีในในการจัดระเบียบสี ทำให้สีที่อยู่บนผลิตภัณฑ์นั้นดูกลมกลืนและผสมผสาน

เส้น

ไม่ว่าจะเป็นเส้นแนวนอน เส้นทแยง หรือเส้นแนวตั้ง เส้นสามารถช่วยนำสายตาไปยังจุดใดจุดหนึ่งขององค์ประกอบภาพ อีกทั้งยังสามารถสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานเส้นประเภทต่าง ๆ เช่น เส้นโค้งหรือเส้นที่มีลวดลาย แทนที่จะใช้เส้นตรงเพียงอย่างเดียว

ค่าความสว่าง

ในการออกแบบ ค่าสว่างอิงถึงความอ่อนและความเข้มของสี โดยที่ค่าสว่างจะถูกแสดงเป็น
การไล่ระดับสีหรือ Gradient โดยจัดเรียงจากสีอ่อนที่สุดไปยังสีเข้มที่สุด นักออกแบบสามารถใช้ค่าสว่างของสีเพื่อสร้างภาพลวงตาของมวลและปริมาตรของซับเจคในผลงาน

พื้นที่

การใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้อื่นเห็นการออกแบบของคุณตามที่คุณต้องการ ในโลกของการออกแบบจะมีพื้นที่อยู่สองชนิด พื้นที่เชิงบวก (Positive space) คือพื้นที่ที่ซับเจคของคุณกำลังครอบครอง และชนิดที่สอง พื้นที่เชิงลบ (Negative space) หรือที่เรียกกันว่าพื้นที่สีขาว (White space) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ว่างที่ไม่ถูกซับเจคหรือองค์ประกอบอื่นใช้งาน ในการออกแบบ นักดีไซน์เนอร์ควรจะวางแผนและจัดวางพื้นที่เพื่อสร้างความลึก มุมมอง และความสมดุลขององค์ประกอบโดยรวม โดยที่งานออกแบบควรจะมีความสมดุลระหว่างพื้นที่เชิงบวกและพื้นที่เชิงลบ

รูปร่างสองมิติ

ในการออกแบบ รูปร่างสองมิติ หรือ Shape เป็นการแสดงสิ่งของในรูปแบบสองมิติ ซึ่งรูปทรงก็จะมีอยู่สามประเภทด้วยกัน : รูปร่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิตอย่างสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม และรูปทรง Abstract ที่ใช้เพื่อสื่อสารสิ่งที่มีอยู่จริงโดยไม่ต้องวาดให้เหมือนต้นแบบ เช่น Icon หรือ Emoji เป็นต้น

รูปร่างสามมิติ

ต่างจาก Shape สองมิติที่แสดงแค่ความสูงและความยาว รูปร่างสามมิติ หรือ Form เพิ่มความลึก (Depth) ให้กับตัวซับเจค โดยที่นักออกสามารถใช้ลูกเล่นของเส้น แสง เงา สี และค่าสว่างเพื่อสร้างรูปร่างสามมิติ

พื้นผิว

และองค์ประกอบสุดท้ายของการออกแบบก็คือพิ้นผิว (Texture) ในโลกความเป็นจริงคนเราสามารถใช้มือเพื่อสมผัสพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ ได้ (Tactile texture) แต่เมื่อพูดถึงโลกของการดีไซน์ นักออกแบบจะใช้ (Visual texture) หรือการสื่อสารพื้นผิวผ่านทางประสาทตาอย่างรูปภาพ ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักออกแบบต้องการให้ผู้ชมเห็นต้นไม้ นักออกแบบก็สามารถวาดต้นไม้ที่เห็นรายละเอียดพื้นผิวขรุขระของท่อนไม้และพื้นผิวของใบไม้ แทนที่จะวาดรูปร่างสองมิติที่ไม่มีรายละเอียดพื้นผิวเลย

ปอม ชาน
สอนการวาดภาพประกอบ & การทำธุรกิจผ่านศิลปะ

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิค จากนักวาดภาพประกอบแนวหน้าของประเทศไทย
Pomme Chan

บทสรุป

ถ้าผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจกับองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้ได้แล้ว คุณก็ได้เริ่มการเดินทางในการเป็นนักออกแบบอย่างเต็มตัว สำหรับใครที่ต้องการยกระดับฝีมือการออกแบบและค้นพบสไตล์ของตัวเอง คุณสามารถสมัครเรียนกับนักวาดภาพประกอบมือหนึ่งของไทยได้แล้ววันนี้กับ Pomme Chan ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา