4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบสันติสุข

Jul 20 / IkonClass Staff
จากการคร่ำหวอดในวงการถ่ายภาพมากว่า 10 ปีและมีผลงานภาพถ่ายมากมาย คุณณัฐ​ ประกอบสันติสุข ช่างภาพมือฉมังที่หลาย ๆ คนอยากเรียนถ่ายภาพด้วย ก็ได้แชร์ความรู้และบอกเล่าถึงเทคนิคการถ่ายภาพมากมายไว้ในคอร์สสอนถ่ายภาพกับ IkonClass เพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพสามารถสมัครเรียนถ่ายภาพได้อย่างจุใจ แต่ก่อนที่จะไปลงคอร์สถ่ายภาพออนไลน์กันนั้น IkonClass ได้สรุปเอาเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวกับเทคนิคถ่ายรูปและการจัดแสงมาไว้ให้ได้อ่านกันในบทความนี้
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนกับช่างภาพแฟชั่นมือ 1 ของประเทศไทย
อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า "แสง" เป็นสิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ เพราะแสงเป็นตัวช่วยในการสื่อสารทางอารมณ์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วยังสามารถเป็นเอฟเฟ็กต์พิเศษของภาพถ่ายของคุณอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นการถ่าย Portrait แล้วนั้น แสงยังช่วยทำให้ตัวแบบสื่อสารและถ่ายทอดความรู้สึกอีกด้วย อย่างเช่น เวลาที่มีความสุขเราจะใช้แสงที่สว่าง ถ้าเศร้าเราจะใช้แสงที่มืดลง หรือถ้าอบอุ่นเราก็เลือกที่จะใช้แสงที่มีความส้มอุ่น ๆ นวล ๆ เพราะฉะนั้นแล้วการเรียนรู้เรื่องแสงเพื่อต่อยอดการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อผลงานและการพัฒนาฝีมือของคุณได้อย่างมาก

วันนี้ IkonClass จึงนำ 4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบสันติสุขมาให้ช่างภาพและนักถ่ายรูปได้ลองนำไปใช้กัน

1. การใช้แสงถ่ายซับเจกต์

ซับเจกต์ (Subject) หมายถึงสิ่งที่เราจะถ่าย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งคุณณัฐได้เล่าว่าตอนที่เขาถ่ายรูป Portrait ของผู้หญิงสองคนที่มีจุดกำเนิดของแสง เวลา และสถานที่ที่ต่างกัน แต่เทคนิคที่คุณณัฐได้เลือกใช้คือการทำให้แสงฟุ้งมากขึ้นจากทางด้านหลังหรือด้านข้าง คล้ายกับการถ่ายภาพย้อนแสง และเมื่อแสงฟุ้งขึ้นจะทำให้เส้นโค้งเว้าของตัวบุคคลมีความอ่อนนุ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้ภาพที่มีความฟุ้ง แล้วจึงจัดจุดโฟกัสเดียวที่คมชัดที่สุดคือใบหน้าและดวงตาของตัวแบบ

นี่เป็นหนึ่งเทคนิคถ่ายรูปที่น่าสนใจหากพบว่าเรากำลังถ่ายรูปย้อนแสงอยู่ก็สามารถที่จะสร้างสรรค์ภาพถ่าย Portrait ของเราให้มีเสน่ห์ด้วยเทคนิคถ่ายรูปนี้ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว แสงจากทางด้านหลังหรือรอบ ๆ ตัวแบบนั้นยังช่วยคัดเส้นเว้าโค้งให้มีมิติ และเน้นให้เห็นหน้าที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย พร้อมกับได้อารมณ์ของภาพที่มีความรู้สึกอบอุ่นให้กับภาพมากขึ้น ใครอยากลองอะไรใหม่ ๆ ก็สามารถใช้เทคนิคถ่ายรูปนี้ได้เลย

2. การใช้แสงไฟประดิษฐ์ในฉาก

ในคอร์สเรียนออนไลน์นี้ คุณณัฐได้พูดถึงการใช้ไฟประดิษฐ์ที่ช่วยให้ได้งานภาพถ่ายตรงกับความคิดและคอนเซ็ปต์เพิ่มมากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าแสงจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่พิเศษ แต่อีกนัยหนึ่งคือธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ดั่งใจเราเสมอไป เพราะฉะนั้นหากเราต้องการอะไรที่ทำงานด้วยง่าย รวดเร็ว และควบคุมได้ ก็อาจจะต้องเลือกใช้การจัดไฟขึ้นมาเองเข้ามาช่วยรังสรรค์ผลงาน

คุณณัฐเคยไปเป็นช่างภาพที่ถ่ายภาพแฟชั่นให้กับ Louis Vuitton ในนิตยสาร GQ ในธีมสนามรบ และธีมรถจักรไอน้ำในนิตยสาร Harper’s Bazaar สองโปรเจกต์นี้มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันคือเป็นการถ่ายภาพนอกสถานที่ มีคอนเซปต์คล้ายคลึงกันและเป็นการถ่ายภาพแฟชั่น ซึ่งความท้าทายอยู่ที่การเน้นรายละเอียดแฟชั่นเป็นหลัก แต่ยังคงเล่าเรื่องผ่านภาพถ่ายให้น่าสนใจไว้ได้ คุณณัฐจึงได้ตัดสินใจที่จะใช้หมอกและจัดไฟด้านหลังตัวแบบเพื่อให้ดูมีความเป็นธรรมชาติ ไม่เยอะหรือน้อยจนเกินไป ช่วยสร้างความนวลอยู่ที่พื้นหลัง เพื่อที่จะให้คนเห็นรายละเอียดของเสื้อผ้าในเบื้องหน้าชัดเจนขึ้น

ถ้าหากว่าคุณอยากมีรูปถ่าย Portrait สวย ๆ ในเวลาที่แสงน้อย หรือแสงใกล้จะหมด เรามีเทคนิคถ่ายรูปและอุปกรณ์แนะนำที่หาง่าย ๆ มาให้คุณเลือกใช้ได้ตามนี้เลย

เทคนิคถ่ายรูป Portrait เมื่อมีแสงน้อย

  1. หากอยู่ในร่มสามารถใช้ไฟวงแหวนช่วยเป็นแหล่งทดแทนของแสง ยังสามารถใช้ Dimmer ในการควบคุมแสงได้ด้วย
  2. หากคุณอยู่ข้างนอก แล้วแสงกำลังจะหมด ให้คุณหันหน้าเข้าหาแสงให้ได้มากที่สุด แล้วใช้ไฟอ่อน ๆ ช่วยแสงธรรมชาติ
  3. หากว่าเป็นเวลาที่แสงหมดแล้ว คุณสามารถใช้แฟลช เพื่อให้เน้นไปตัวแบบมากยิ่งขึ้นได้

อุปกรณ์ถ่ายรูปดี ๆ มีพกไว้ไม่เสียหาย

4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบ สันติสุข | IkonClass

1. Ring Light

เราเชื่อว่าหลายๆคนเคยเห็นสิ่งนี้ เป็นอุปกรณ์ช่วยที่ให้ความสะดวกสบายได้จริง แต่อาจจะไม่เหมาะกับการพกพาไปข้างนอกสักเท่าไหร่ เพราะต้องใช้เวลาประกอบและมีขนาดใหญ่ ดังนั้นแนะนำให้ใช้สำหรับถ่ายภาพในห้อง หรือในที่ปิดจะสะดวกที่สุด นอกจากนี้ยังมีรีโมตในตัวเพื่อใช้สำหรับการปรับแสงหลายระดับ เลือกเอาที่ต้องการได้เลย

2. Portable Selfie Light 

ไฟวงแหวนขนาดเล็กแบบนี้สะดวกในการพกพาเป็นที่สุด แต่ด้วยขนาดที่เล็กกว่าอาจจะได้พลังไฟที่อ่อนกว่าแบบแรก แต่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ได้ภาพถ่ายสวย ๆ ในเวลาแสงน้อยได้ดีเลยทีเดียว

3. Smartphone Flashlight

เครื่องทุ่นแรงยามค่ำคืนที่หาง่ายและใกล้ตัวสุด ๆ ก็คือแฟลชจากสมาร์ตโฟนของเราซึ่งเทคนิคการใช้แฟลชก็คือใช้ส่องไปยังตัวแบบในระยะที่พอเหมาะ ก็จะช่วยทำให้ตัวแบบโดดเด่นขึ้น เพิ่มแสงให้กับภาพได้ดี ทำได้ง่ายและช่วยทำให้ได้ภาพ Portrait สวย ๆ แน่นอน
4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบ สันติสุข | IkonClass

3. การใช้แสงสร้างสัญลักษณ์และบอกเล่าเรื่องราว

การเล่าเรื่องด้วยแสงดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในความสามารถพิเศษของคุณณัฐ ประกอบสันติสุข เพราะเขาสามารถเนรมิตและสร้างสรรค์ผลงานที่สื่อความหมายด้วยแสงและเทคนิคในการถ่ายภาพได้ดีเยี่ยม คุณณัฐได้ถ่ายภาพจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนภิเภกบอกให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดา แต่สิ่งที่พิเศษและเป็นเอกลักษณ์คือการใช้แสงที่มีสีตัดกันจากอารมณ์ของตัวละคร คือการใช้สีแดงเพื่อแทนความโกรธของทศกัณฐ์ ให้ตัดกับแสงสว่างจากด้านนอกเพื่อที่จะบ่งบอกว่านั่นคือแสงสว่างแห่งทางออกที่ภิเภกจะไปสวามิภักดิ์กับพระราม

ซึ่งความคิดของคุณณัฐ ในการถ่ายทอดภาพถ่ายที่ยึดหลักความเป็นจริงด้วย ซึ่งพระลักษณ์มีกายาสีทอง ซึ่งคุณณัฐเลือกใช้แสงไฟสีเหลืองสาดเข้าไป ทำให้ทุกอย่างมีสีเหลืองอมทองรวมถีงกายของพระลักษณ์ด้วย แทนที่จะทาตัวแบบให้เป็นสีทอง ถือว่านี่เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่ายที่น่าทึ่งและแยบยล อีกทั้งยังเป็นการใช้แสงช่วยเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ

นอกจากในภาพนิ่งแล้ว เราก็ยังสามารถเห็นการจัดไฟหรือการใช้แสงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและสื่อถึงอารมณ์ได้จากหนังหลาย ๆ เรื่องอีกด้วย ดังนั้น IkonClass จะขอลองยกตัวอย่างการใช้แสงเพื่อสร้างสัญลักษณ์และเรื่องราวเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้นดังต่อไปนี้

แสงสีขาวนวล นำเสนอความหรูหรา สุขสบาย

หนังเรื่อง Marie Antoinette ในปี 2003 ที่เลือกใช้แสงสีขาวนวล เพื่อให้รู้สึกถึงความสบายและผ่อนคลาย ใช้สีหลักเป็นสีพาสเทล ทำให้รู้สึกว่านี่คือชีวิตสุขสบายในฝันของใครหลาย ๆ คน รวมถึงการจัดฉากที่มีของว่างหรูหรารอบตัว ทำให้เราสามารถฉุกคิดได้ว่านี่คือคนที่อยู่ในที่ที่เพียบพร้อมทุกอย่าง ซึ่งก็คือพระราชวังนั่นเอง

แสงสีตัดกัน มีความคอนทราสต์สูง นำเสนอความสับสน มึนเมา

พนันได้เลยว่าคนที่เห็นรูปภาพนี้จะสามารถตอบได้ในทันทีว่าตัวละครและฉากนี้คือสถานที่ใด และการใช้แสงไฟที่ตัดกันนี้ทำให้สื่อถึงความมึนงง มึนเมาให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี Only God Forgives ในฉากนี้เป็นตัวอย่างของการใช้แสงเพื่อสร้างสัญลักษณ์และเรื่องราวได้เป็นอย่างน่าชื่นชมทีเดียว

4. แสงต่างเวลาและสถานที่

มาถึงเทคนิคถ่ายรูปข้อสุดท้าย คุณณัฐได้กล่าวเอาไว้ว่าผู้ที่อยากถ่ายภาพให้เก่งต้อง
ฝึกสังเกตแสงให้ได้ด้วย เช่น ตอนเช้าแสงจะมีความสว่างจ้าและขาว ซึ่งให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากแสงตอนเย็นที่แสงจะกลายเป็นสีส้มทอง นอกจากนี้แล้วแต่ละสถานที่ก็ให้แสงที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย อย่างเช่นแสงเช้าในเมือง หรือแสงเช้าที่ทะล ก็มีเอกลักษณ์ของแสงที่ต่างกัน การถ่ายภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้

การจัดแสงเหล่านี้นั้นจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างงานภาพถ่ายให้ออกมาดูมีสไตล์ได้เป็นอย่างดี อย่างงานที่คุณณัฐได้ถ่ายให้กับแบรนด์ Vatanika ซึ่งเซ็ตฉากเหมือนอยู่ที่ปารีส คุณณัฐก็เลือกใช้ไฟสาดทะลุหน้าต่างเข้ามา เพื่อสร้างแสงที่ดูมีความนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ เลียนแบบบรรยากาศในปารีสนั่นเอง
4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบ สันติสุข | IkonClass

เทคนิคการเลือกใช้แสงสำหรับงานถ่ายภาพ Portrait ของคุณ

1. แสงอ่อน (Soft Light)

เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีความสดใส เนื่องจากความเข้มของแสงยังมีไม่มาก ใครที่อยากจะถ่ายทอดความสดใส หรืออยากให้ภาพถ่ายออกมาดูมีความไร้เดียงสา บริสุทธิ์ ก็สามารถใช้แสงประเภทนี้ได้ หากใช้แสงธรรมชาติ ก็ควรเป็นช่วงเวลา 8.30-10.00 น. หรือช่วงบ่ายอ่อน ๆ ประมาณ 14.00-15.00 น.

2. แสงแข็ง (Hard Light)

เป็นแสงที่เลื่องลือเรื่องการตกกระทบของแสงสู่ใบหน้า ทำให้มีเงาเยอะและภาพจะออกมามีความแข็งกระด้าง มีคอนทราสต์ที่ค่อนข้างสูง เหมาะกับภาพถ่ายที่ต้องการความชัดเจนของแสงและเงา สำหรับใครที่ชอบความแรงของแดดแต่ไม่อยากให้ตกกระทบลงหน้าเยอะเกินไป ให้หลบตามที่ที่พอจะมีหลังคา หรือใช้แผ่นกรองแสงช่วยลดเงาที่ตกกระทบบนตัวแบบก็ได้ด้วยเช่นกัน แสงตามธรรมชาติที่เป็นแสงแข็งนั้นจะพบได้ในช่วงเวลาประมาณ 11.00-13.00 น.

3. แสงสีส้มทอง (Golden Hour)

เป็นแสงที่นิยมมาก ๆ ในการถ่ายภาพบุคคล เพราะแสงนี้ช่วยทำให้ผิวดูสุขภาพดีและ Glow เนื่องจากเป็นแสงที่มีความส้ม ความทอง ซึ่งช่วยขับผิวของแบบให้ดูมีออร่ามากยิ่งขึ้น นอกจากจะพบแสงเหล่านี้ได้ในช่วงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกแล้ว ในช่วงเช้าตรู่ก็มีแสงประเภทนี้ให้ได้ใช้เช่นกัน

ณัฐ ประกอบสันติสุข
สอนการถ่ายภาพแฟชั่น

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิคจากช่างภาพแฟชั่นอันดับ 1
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

สรุปใจความสำคัญ

เทคนิคการถ่ายภาพและการจัดแสงของคุณณัฐ ประกอบสัน ติสุขก็คือการเลือกใช้แสงที่เหมาะกับอารมณ์ สไตล์และคอนเซ็ปต์ของภาพเซ็ตนั้น ๆ หากใช้แสงธรรมชาติได้ ก็ควรเลือกใช้แสงที่ส่งเสริมการสร้างอารมณ์ หากมีแสงธรรมชาติน้อย ก็ควรเลือกไฟเพิ่มเติมที่สามารถเลียนแบบหรือสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 4 เทคนิคการใช้แสงในภาพถ่ายของณัฐ ประกอบ สันติสุขที่เราหยิบยกมาไว้ให้ได้อ่านกันในวันนี้ น่าสนใจและนำไปใช้ได้จริงอย่างที่บอกไว้ในตอนต้นเลยใช่ไหมล่ะ? สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ การจัดแสง การใช้กล้อง จนไปถึงแนวคิดในการถ่ายภาพแฟชั่นต่าง ๆ ก็สามารถทดลองเรียนคอร์สถ่ายภาพออนไลน์ได้ที่นี่

บทความล่าสุด

คอร์สเรียนของเรา